โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอรา (Phytophthora palmivora) ที่มักจะระบาดมากในช่วงที่ฝนตกชุก หรือช่วงที่มีความชื้นในอากาศค่อนข้างสูง ซึ่งเชื้อเข้าทำลายได้ทั้งลำต้น ระบบราก ลำต้นบริเวณคอดิน กิ่ง ใบ ปลายยอด และผล หากไม่มีการป้องกันที่ดีจะส่งผลให้ทุเรียนยืนต้นตายได้
ช่วงนี้ฝนชุก… พี่น้องเกษตรกรต้องระวัง!! “โรครากเน่าโคนเน่า” ในทุเรียน ไม่อยากวิงเวียน เพราะผลผลิตเสียหาย รีบมาจัดการแบบนี้กันดีกว่า!!
#ลักษณะอาการของโรค
◾️ ใบทุเรียนจะไม่เป็นมันสดเหมือนใบทุเรียนปกติ ต่อมาใบล่าง ๆ จะเริ่มเป็นจุดเหลือง แล้วค่อย ๆ กลายเป็นสีเหลืองซีดในที่สุด จากนั้นใบจะค่อย ๆ หลุดร่วงไป ลำต้นทรุดโทรมแล้วตายไปในที่สุด
◾️ อาการเน่าที่โคนต้นหรือกิ่ง จะสังเกตเห็นผิวเปลือกของลำต้นหรือกิ่งคล้ายมีคราบน้ำเกาะติด ในช่วงเช้าที่มีอากาศชุ่มชื้นจะมองเห็นหยดน้ำยางสีน้ำตาลแดงไหลปูดออกมาจากรอยแผลแตกของลำต้นหรือกิ่ง ในช่วงกลางวันที่มีแดดจัด ทำให้เห็นเป็นคราบน้ำจับบนเปลือกของลำต้น เมื่อเปิดเปลือกของลำต้นบริเวณที่มีคราบน้ำยางออกบาง ๆ ด้วยมีด จะเห็นเนื้อเยื่อเปลือกที่ถูกทำลายมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเข้ม
◾️ อาการเน่าที่เกิดกับรากเล็กหรือรากฝอยนั้น เนื้อเยื่อรากจะเปื่อยยุ่ย เมื่อดึงเบา ๆ จะขาดออกจากกันได้ง่าย
#การแพร่ระบาดของโรค
โรครากเน่าโคนเน่าจะระบาดรุนแรงในฤดูฝน ซึ่งสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง จะเหมาะกับการแพร่กระจายและเข้าทำลายต้นทุเรียน ซึ่งเชื้อราไฟทอปธอราสามารถแพร่กระจายได้ทั้งทางดิน ทางน้ำ และลม หรือติดไปกับเครื่องมือการเกษ